- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 31 พฤษภาคม-6 มิถุนายน 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,780 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,747 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,826 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,793 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,900 บาท ราคาลดลงจากตันละ 34,050 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,153 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,990 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,954 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,673 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,048 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.2142
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย-จีน
การประชุม Thailand Rice Conversation 2019 ได้มีการตั้งวงเสวนาเรื่องแนวโน้มการค้าข้าวโลกจาก
“เทรดเดอร์ข้าว” ระดับโลก คือ Mr.Jeremy Zwinger จากบริษัท Rice Trader, Mr.Satish Thampy จากบริษัทโอแล่ม และ Mr.Sminder Bedi จากบริษัท Phoenix โดยทั้ง 3 ท่าน ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า ระบบการค้าข้าวโลก
จะได้รับผลระทบอย่างถอนรากถอนโคนจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ที่ต่างฝ่ายต่างตอบโต้กันด้วยการขึ้นภาษีไปมาระหว่างกัน
สิ่งที่เทรดเดอร์ข้าวเป็นห่วง คือ ปัจจุบันปริมาณสต็อกข้าวคงค้างของจีนพุ่งขึ้นไปถึงระดับ 117 ล้านตัน
ซึ่งเป็นปริมาณมหาศาล ขณะที่ไทยส่งออกข้าวอย่างเก่งที่สุดประมาณปีละ 10 กว่าล้านตันเท่านั้น ปริมาณสต็อกคงค้างดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ แต่เป็นสต็อกสะสมในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายอุดหนุนการเกษตรของรัฐบาลจีนเอง คล้ายๆ กับนโยบายของรัฐบาลไทยในอดีตนั้นก็คือ การรับซื้อข้าวเข้าเก็บ
และมีการคาดการณ์ในวงการค้าข้าวว่า ประเทศจีนจะเปลี่ยนจากประเทศผู้นำเข้าข้าว กลายเป็นประเทศ
ผู้ส่งออกข้าว และด้วยสต็อกที่มหาศาลนี้ รัฐบาลจีนมีความจำเป็นต้องเร่งขายหรือระบายข้าวออกนอกประเทศทันที ก่อนที่สต็อกข้าวใหม่ในปี 2562 จะโถมทับเข้ามาอีก โดยคาดว่าจีนอาจจะต้องระบายข้าวออกนอกประเทศยาวไปจนถึง
ปี 2563 เพื่อลดสต็อกที่ล้นเกินมากกว่า 3 เท่าตัวเป็นอย่างน้อย และนั่นหมายความว่า ลำดับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกจะเปลี่ยนไป ไม่ใช่อินเดียหรือไทย แต่จะกลายเป็นจีนที่ขยับขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก
ได้อย่างไม่ยากนัก
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ปรากฏการณ์สต็อกข้าวล้นเกินของจีนนั้น สวนทางกับสต็อกข้าวของประเทศไทย หลังจากรัฐบาลชุดปัจจุบันได้เข้ามาแก้ไขปัญหาสต็อกข้าวที่เกิดจากโครงการรับจำนำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีมากกว่า 18 ล้านตัน ด้วยการขายทั้งภายในและภายนอกประเทศจนหมด ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา การระบายข้าวส่วนหนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการทำ MOU ขายข้าวแบบ G to G ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในปริมาณ 1 ล้านตันแรก และ
1 ล้านตันที่สอง ขณะนี้รัฐบาลไทยได้ขายข้าว G to G ส่งมอบให้กับรัฐบาลจีนไปแล้วประมาณ 700,000 ตัน และเหลืออีก 300,000 ตัน จะหมดล้านตันที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้เริ่ม 1 ล้านตันที่สอง ซึ่งเชื่อกันในวงการค้าข้าวว่า อาจจะไม่มีการส่งมอบข้าวล้านตันที่สองอีกแล้ว เหตุผลสำคัญก็คือ ปริมาณสต็อกข้าวล้นเกินปกติถึง 3 เท่าของจีนในตอนนี้ จะมีผลทำให้รัฐบาลจีนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งซื้อข้าวตาม MOU ที่ทำไว้กับรัฐบาลไทยทั้ง 2 ฉบับ
นั่นหมายความว่า การส่งมอบข้าว G to G ที่ผ่านมา ได้ช่วยพยุงราคาข้าวภายในประเทศจากผลทางจิตวิทยาส่วนหนึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับข้าวฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะเก็บเกี่ยว และรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศ คือเรียกว่า ไม่มีตัวช่วยเรื่อง G to G จากจีนเข้ามาอีก ตรงกันข้ามจีนเองกำลังจะกลายเป็นคู่แข่งการขายข้าวกับไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดแอฟริกา ที่จีนมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลเหล่านั้น ผ่านทางนโยบายการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินอยู่แล้ว นอกเหนือจากตลาดข้าวในเอเชียที่จะต้องแข่งกับข้าวเวียดนามที่มีราคาถูกกว่าข้าวไทยถึง 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
Mr.Sminder Bedi กล่าวว่า ปัญหาค่าเงินส่งผลกระทบต่อการส่งออก โดยเงินบาทแข็งค่าได้ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศไทย นอกจากนี้ค่าเงินยูโรที่ลดลงก็จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อข้าวในตลาดสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ข้าวไทยแข่งได้ดีกับข้าวนึ่งของอินเดีย เพราะการเลือกตั้งในอินเดียทำให้ค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้น
โดยผลผลิตข้าวโลกมีปริมาณ 500 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 4.9 ตัน และสต็อกข้าวโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ต่อปีจากจีน ขณะที่ภาวะการค้าข้าวโลกมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากหลายประเทศนำเข้าลดลง อินโดนีเซียมีแนวโน้มไม่นำเข้าหรืออาจจะนำเข้า 500,000 ตัน แต่ยังไม่ทราบว่าเมื่อไร ดังนั้น จึงมีเพียงฟิลิปปินส์ที่ประสบปัญหาเอลนิโญ ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าข้าว 700,000 ตัน สวนทางกับจีนที่จะหันมาส่งออกข้าว
Satish Thampy กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดข้าวโลกตอนนี้ คือ สต็อก ซึ่งจีนมีข้าวคงค้างอยู่ 117 ล้านตัน และจะสูงไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2020 แต่ประทศไทยมีสต็อกข้าวลดลงสวนทางตลาดโลก และมีจุดแข็งด้านคุณภาพการผลิตข้าวพรีเมียม แต่ในอนาคตต้องมุ่งลดต้นทุนการผลิต
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงภาพรวมการส่งออกข้าวของไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม – เมษายน) มีปริมาณ 3.1 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 15.7 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 1,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 12.5 โดยเฉลี่ยไทยส่งออกข้าวได้เดือนละ 800,000 ตัน หากไทยส่งออกได้ในระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปียอดส่งออกข้าวรวมจะได้ 9.6 ล้านตัน สูงกว่าเป้าหมายที่สมาคมฯ วางไว้ที่ 9.5 ล้านตัน ซึ่งไทยจะครองตลาดข้าวโลกเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดียที่คาดว่าจะส่งออกได้ 10.5 ล้านตัน และเวียดนามอันดับ 3 ปริมาณ 6.5 ล้านตัน การส่งออกครึ่งปีหลังมีความท้าทายมาก เป็นผลมาจากสงครามการค้าส่งผลกระทบ
ต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อประเทศคู่ค้า ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ไทยแข็งค่ากว่าเพื่อนบ้านอาเซียน
ซึ่งจะทำให้ลูกค้าหันไปซื้อข้าวจากประเทศคู่แข่งที่มีราคาถูกกว่า เช่น ราคาข้าวขาว 5% ของไทยตันละ 385 – 390 ดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามตันละ 365 – 370 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งยังมีการแข่งขันจากกรณีที่จีนการระบายสต็อกข้าวเก่า
ไปขายในตลาดแอฟริกาอีกประมาณ 2 ล้านตัน จากสต็อกที่จีนถือครองไว้ 5 ล้านตัน ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกไทย ดังนั้น ทางออกก็คือ รัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมประมาณ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และควรระบายสต็อกข้าวเก่าที่ยังเหลือค้างอีก 300,000 – 400,000 ตัน เพื่อช่วยให้ผู้ส่งออก
มีวัตถุดิบราคาถูกไปแข่งขัน
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมาจาก
พรรคการเมืองใดควรเดินหน้านโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมข้าวไทย โดยใช้การตลาดนำการผลิตอย่างต่อเนื่อง และ
ไม่กำหนดนโยบายใดที่จะส่งผลกระทบต่อกลไกตลาด ต้องสานต่อนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งได้เคลียร์สต็อกข้าวเก่าจากโครงการรับจำนำไปจนหมดแล้ว รัฐบาลต้องเจรจาขายข้าวระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือ G to G กับจีนที่ยังเหลืออีก 300,000 ตันต่อเนื่อง
ที่มา : www.ryt9.com, หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
เวียดนาม
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 คาดว่าเวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 700,000 ตัน ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออกคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 297 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561
โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-พฤษภาคม ) คาดว่า มีการส่งออกข้าวประมาณ 2.79 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 5 และร้อยละ 20 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาตามลำดับ
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอ่อนตัวลงอยู่ที่ตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐ จากตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะที่อุปทานข้าวเริ่มมีมากขึ้นหลังจากเกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-autumn crop) ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta region) ขณะที่ผู้ซื้อต่างชะลอการซื้อข้าวในช่วงนี้ เพื่อรอผลผลิตข้าวฤดูใหม่และรอดูสถานการณ์ราคาข้าว
ที่อาจจะมีแนวโน้มลดลงจากที่อุปทานข้าวในตลาดมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เวียดนามได้ทำสัญญาขายข้าวให้แก่ประเทศอิรักประมาณ 150,000 ตัน
ทางด้านวงการค้าคาดว่า ปีนี้แนวโน้มการส่งออกข้าวของเวียดนามค่อนข้างทรงตัว แต่ในระยะยาวอาจมีจำนวนลดลง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าการปลูกข้าว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,780 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,747 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,826 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,793 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,900 บาท ราคาลดลงจากตันละ 34,050 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,153 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,990 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,954 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,673 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,048 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.2142
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย-จีน
การประชุม Thailand Rice Conversation 2019 ได้มีการตั้งวงเสวนาเรื่องแนวโน้มการค้าข้าวโลกจาก
“เทรดเดอร์ข้าว” ระดับโลก คือ Mr.Jeremy Zwinger จากบริษัท Rice Trader, Mr.Satish Thampy จากบริษัทโอแล่ม และ Mr.Sminder Bedi จากบริษัท Phoenix โดยทั้ง 3 ท่าน ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า ระบบการค้าข้าวโลก
จะได้รับผลระทบอย่างถอนรากถอนโคนจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ที่ต่างฝ่ายต่างตอบโต้กันด้วยการขึ้นภาษีไปมาระหว่างกัน
สิ่งที่เทรดเดอร์ข้าวเป็นห่วง คือ ปัจจุบันปริมาณสต็อกข้าวคงค้างของจีนพุ่งขึ้นไปถึงระดับ 117 ล้านตัน
ซึ่งเป็นปริมาณมหาศาล ขณะที่ไทยส่งออกข้าวอย่างเก่งที่สุดประมาณปีละ 10 กว่าล้านตันเท่านั้น ปริมาณสต็อกคงค้างดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ แต่เป็นสต็อกสะสมในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายอุดหนุนการเกษตรของรัฐบาลจีนเอง คล้ายๆ กับนโยบายของรัฐบาลไทยในอดีตนั้นก็คือ การรับซื้อข้าวเข้าเก็บ
และมีการคาดการณ์ในวงการค้าข้าวว่า ประเทศจีนจะเปลี่ยนจากประเทศผู้นำเข้าข้าว กลายเป็นประเทศ
ผู้ส่งออกข้าว และด้วยสต็อกที่มหาศาลนี้ รัฐบาลจีนมีความจำเป็นต้องเร่งขายหรือระบายข้าวออกนอกประเทศทันที ก่อนที่สต็อกข้าวใหม่ในปี 2562 จะโถมทับเข้ามาอีก โดยคาดว่าจีนอาจจะต้องระบายข้าวออกนอกประเทศยาวไปจนถึง
ปี 2563 เพื่อลดสต็อกที่ล้นเกินมากกว่า 3 เท่าตัวเป็นอย่างน้อย และนั่นหมายความว่า ลำดับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกจะเปลี่ยนไป ไม่ใช่อินเดียหรือไทย แต่จะกลายเป็นจีนที่ขยับขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก
ได้อย่างไม่ยากนัก
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ปรากฏการณ์สต็อกข้าวล้นเกินของจีนนั้น สวนทางกับสต็อกข้าวของประเทศไทย หลังจากรัฐบาลชุดปัจจุบันได้เข้ามาแก้ไขปัญหาสต็อกข้าวที่เกิดจากโครงการรับจำนำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีมากกว่า 18 ล้านตัน ด้วยการขายทั้งภายในและภายนอกประเทศจนหมด ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา การระบายข้าวส่วนหนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการทำ MOU ขายข้าวแบบ G to G ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในปริมาณ 1 ล้านตันแรก และ
1 ล้านตันที่สอง ขณะนี้รัฐบาลไทยได้ขายข้าว G to G ส่งมอบให้กับรัฐบาลจีนไปแล้วประมาณ 700,000 ตัน และเหลืออีก 300,000 ตัน จะหมดล้านตันที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้เริ่ม 1 ล้านตันที่สอง ซึ่งเชื่อกันในวงการค้าข้าวว่า อาจจะไม่มีการส่งมอบข้าวล้านตันที่สองอีกแล้ว เหตุผลสำคัญก็คือ ปริมาณสต็อกข้าวล้นเกินปกติถึง 3 เท่าของจีนในตอนนี้ จะมีผลทำให้รัฐบาลจีนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งซื้อข้าวตาม MOU ที่ทำไว้กับรัฐบาลไทยทั้ง 2 ฉบับ
นั่นหมายความว่า การส่งมอบข้าว G to G ที่ผ่านมา ได้ช่วยพยุงราคาข้าวภายในประเทศจากผลทางจิตวิทยาส่วนหนึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับข้าวฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะเก็บเกี่ยว และรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศ คือเรียกว่า ไม่มีตัวช่วยเรื่อง G to G จากจีนเข้ามาอีก ตรงกันข้ามจีนเองกำลังจะกลายเป็นคู่แข่งการขายข้าวกับไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดแอฟริกา ที่จีนมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลเหล่านั้น ผ่านทางนโยบายการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินอยู่แล้ว นอกเหนือจากตลาดข้าวในเอเชียที่จะต้องแข่งกับข้าวเวียดนามที่มีราคาถูกกว่าข้าวไทยถึง 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
Mr.Sminder Bedi กล่าวว่า ปัญหาค่าเงินส่งผลกระทบต่อการส่งออก โดยเงินบาทแข็งค่าได้ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศไทย นอกจากนี้ค่าเงินยูโรที่ลดลงก็จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อข้าวในตลาดสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ข้าวไทยแข่งได้ดีกับข้าวนึ่งของอินเดีย เพราะการเลือกตั้งในอินเดียทำให้ค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้น
โดยผลผลิตข้าวโลกมีปริมาณ 500 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 4.9 ตัน และสต็อกข้าวโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ต่อปีจากจีน ขณะที่ภาวะการค้าข้าวโลกมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากหลายประเทศนำเข้าลดลง อินโดนีเซียมีแนวโน้มไม่นำเข้าหรืออาจจะนำเข้า 500,000 ตัน แต่ยังไม่ทราบว่าเมื่อไร ดังนั้น จึงมีเพียงฟิลิปปินส์ที่ประสบปัญหาเอลนิโญ ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าข้าว 700,000 ตัน สวนทางกับจีนที่จะหันมาส่งออกข้าว
Satish Thampy กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดข้าวโลกตอนนี้ คือ สต็อก ซึ่งจีนมีข้าวคงค้างอยู่ 117 ล้านตัน และจะสูงไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2020 แต่ประทศไทยมีสต็อกข้าวลดลงสวนทางตลาดโลก และมีจุดแข็งด้านคุณภาพการผลิตข้าวพรีเมียม แต่ในอนาคตต้องมุ่งลดต้นทุนการผลิต
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงภาพรวมการส่งออกข้าวของไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม – เมษายน) มีปริมาณ 3.1 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 15.7 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 1,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 12.5 โดยเฉลี่ยไทยส่งออกข้าวได้เดือนละ 800,000 ตัน หากไทยส่งออกได้ในระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปียอดส่งออกข้าวรวมจะได้ 9.6 ล้านตัน สูงกว่าเป้าหมายที่สมาคมฯ วางไว้ที่ 9.5 ล้านตัน ซึ่งไทยจะครองตลาดข้าวโลกเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดียที่คาดว่าจะส่งออกได้ 10.5 ล้านตัน และเวียดนามอันดับ 3 ปริมาณ 6.5 ล้านตัน การส่งออกครึ่งปีหลังมีความท้าทายมาก เป็นผลมาจากสงครามการค้าส่งผลกระทบ
ต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อประเทศคู่ค้า ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ไทยแข็งค่ากว่าเพื่อนบ้านอาเซียน
ซึ่งจะทำให้ลูกค้าหันไปซื้อข้าวจากประเทศคู่แข่งที่มีราคาถูกกว่า เช่น ราคาข้าวขาว 5% ของไทยตันละ 385 – 390 ดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามตันละ 365 – 370 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งยังมีการแข่งขันจากกรณีที่จีนการระบายสต็อกข้าวเก่า
ไปขายในตลาดแอฟริกาอีกประมาณ 2 ล้านตัน จากสต็อกที่จีนถือครองไว้ 5 ล้านตัน ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกไทย ดังนั้น ทางออกก็คือ รัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมประมาณ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และควรระบายสต็อกข้าวเก่าที่ยังเหลือค้างอีก 300,000 – 400,000 ตัน เพื่อช่วยให้ผู้ส่งออก
มีวัตถุดิบราคาถูกไปแข่งขัน
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมาจาก
พรรคการเมืองใดควรเดินหน้านโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมข้าวไทย โดยใช้การตลาดนำการผลิตอย่างต่อเนื่อง และ
ไม่กำหนดนโยบายใดที่จะส่งผลกระทบต่อกลไกตลาด ต้องสานต่อนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งได้เคลียร์สต็อกข้าวเก่าจากโครงการรับจำนำไปจนหมดแล้ว รัฐบาลต้องเจรจาขายข้าวระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือ G to G กับจีนที่ยังเหลืออีก 300,000 ตันต่อเนื่อง
ที่มา : www.ryt9.com, หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
เวียดนาม
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 คาดว่าเวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 700,000 ตัน ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออกคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 297 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561
โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-พฤษภาคม ) คาดว่า มีการส่งออกข้าวประมาณ 2.79 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 5 และร้อยละ 20 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาตามลำดับ
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอ่อนตัวลงอยู่ที่ตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐ จากตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะที่อุปทานข้าวเริ่มมีมากขึ้นหลังจากเกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-autumn crop) ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta region) ขณะที่ผู้ซื้อต่างชะลอการซื้อข้าวในช่วงนี้ เพื่อรอผลผลิตข้าวฤดูใหม่และรอดูสถานการณ์ราคาข้าว
ที่อาจจะมีแนวโน้มลดลงจากที่อุปทานข้าวในตลาดมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เวียดนามได้ทำสัญญาขายข้าวให้แก่ประเทศอิรักประมาณ 150,000 ตัน
ทางด้านวงการค้าคาดว่า ปีนี้แนวโน้มการส่งออกข้าวของเวียดนามค่อนข้างทรงตัว แต่ในระยะยาวอาจมีจำนวนลดลง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าการปลูกข้าว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.67 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.78 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.31 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 301.75 ดอลลาร์สหรัฐ (9,419 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 294.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,293 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.50 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 126 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2
สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 422.28 เซนต์ (5,261 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 419.80 เซนต์ (5,288 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 27 บา
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 31.55 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 7.42 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2562
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.94 ล้านตัน (ร้อยละ 2.97 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.14 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังไม่ครบอายุ ทำให้เชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.76 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.27
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.95 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.81
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.36 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 223 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,961 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจาก
ตันละ 218 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,881 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.29
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,984 บาทต่อตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,299 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.10
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 31.55 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 7.42 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2562
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.94 ล้านตัน (ร้อยละ 2.97 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.14 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังไม่ครบอายุ ทำให้เชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.76 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.27
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.95 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.81
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.36 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 223 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,961 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจาก
ตันละ 218 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,881 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.29
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,984 บาทต่อตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,299 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.10
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.542 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.278 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.716 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.309 ล้านตัน ของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 10.14 และร้อยละ 10.03 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.27 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.04 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.27
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.53 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 17.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.12
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 2,055 ริงกิตต่อตัน (492.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เนื่องจากเดือนพฤษภาคม 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันของมาเลเซียลดลงซึ่งเป็นช่วงเดือนรอมฎอนถือศิลอด ปริมาณอยู่ที่ 1.61 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จึงส่งผลให้ระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปริมาณอยู่ที่ 2.46 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.7 ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,008.62 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.34 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,004.24 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 505.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 875.28 เซนต์ (10.18 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก
บุชเชลละ 861.65 เซนต์ (10.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.58
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 319.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.10 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 314.93 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.38
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.48 เซนต์ (19.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.45 เซนต์ (19.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.11
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 875.28 เซนต์ (10.18 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก
บุชเชลละ 861.65 เซนต์ (10.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.58
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 319.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.10 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 314.93 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.38
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.48 เซนต์ (19.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.45 เซนต์ (19.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.11
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.20 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 19.31 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.68
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.75 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.88
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 951.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.71 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 917.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.75 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 887.25 ดอลลาร์สหรัฐ (27.69 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 853.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.94 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.75 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 943.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.46 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 885.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.57 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 573.50 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 567.20 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 969.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.26 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 911.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.40 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.50 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.20 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 19.31 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.68
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.75 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.88
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 951.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.71 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 917.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.75 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 887.25 ดอลลาร์สหรัฐ (27.69 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 853.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.94 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.75 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 943.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.46 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 885.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.57 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 573.50 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 567.20 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 969.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.26 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 911.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.40 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.50 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.22 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 68.17
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.10 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.58
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.22 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 68.17
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.10 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.58
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.76 (กิโลกรัมละ 47.97 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 69.07 (กิโลกรัมละ 48.71 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.74 บาท
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.76 (กิโลกรัมละ 47.97 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 69.07 (กิโลกรัมละ 48.71 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.74 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,666 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,653 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.80
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,333 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 853 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะฝนตกและ สภาพอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ ทำให้การซื้อขายไม่คล่องตัว อีกทั้งเริ่มมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.54 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.85 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 74 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะฝนตกและ สภาพอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ ทำให้การซื้อขายไม่คล่องตัว อีกทั้งเริ่มมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.54 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.85 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 74 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อไม่ค่อยคึกคัก ในสัปดาห์นี้มีปริมาณไก่เนื้อและไก่ใหญ่ออกมากประกอบกับมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาดในช่วงหน้าฝน ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.57 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 12.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 16.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดไก่เนื้อไม่ค่อยคึกคัก ในสัปดาห์นี้มีปริมาณไก่เนื้อและไก่ใหญ่ออกมากประกอบกับมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาดในช่วงหน้าฝน ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.57 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 12.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 16.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้อ่อนตัวลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนผู้บริโภคบางส่วนหันไปบริโภคอาหารและสัตว์น้ำธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 280 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 283 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 275 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 22.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.64
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 256บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้อ่อนตัวลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนผู้บริโภคบางส่วนหันไปบริโภคอาหารและสัตว์น้ำธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 280 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 283 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 275 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 22.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.64
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 256บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 323 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 323 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.42 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.42 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.04 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 135.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.19 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.04 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 135.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.19 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา